LOGO%20SUNMOON%20CLINIC%20PNG-01.png)
TIPCO TOWER ถ.พระราม6-อารีย์
EP15
หูอื้อ ในมุมมองแพทย์แผนจีน

หูอื้อ (Tinnitus) เป็นอาการที่ผู้ป่วยได้ยินเสียงดังอยู่ภายในหู แต่ไม่มีแหล่งกำเนิดเสียงที่สอดคล้องกันกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ เสียงที่ดังจะมีลักษณะแหลมสูงหรือทุ้มต่ำ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทางคลินิก โดยในทางการแพทย์แผนจีน แบ่งแยกอาการออกเป็น 2 รูปแบบ
1. อาการแกร่ง : เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ระยะเวลาดำเนินโรคสั้น
2.อาการพร่อง : เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ระยะเวลาดำเนินโรคค่อนข้างนาน ดังเช่นในกรณีคนไข้รายนี้
ชาย วัย 38 พบว่าใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีเสียงในหู ลักษณะคล้ายเสียงจิ้งหรีด จะเป็นมากในตอนกลางคืน หรือ อยู่ในสถานที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ และหากอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังหรือคนเยอะ ก็จะมีอาการเสมือนมีลมออกหูเป็นระยะๆ
จากการตรวจร่างกายพบว่า
- คนไข้มีอาการมีเสียงในหู ลักษณะคล้ายเสียงจิ้งหรีด จะเป็นมากในตอนกลางคืน หรือ อยู่ในสถานที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ ระดับความดังของเสียง 4/10 และหากอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังหรือคนเยอะ ก็จะมีอาการปวดแน่นๆเสมือนมีลมออกหูเป็นระยะๆ ระดับความเจ็บปวด 6/10
- ระยะเวลาดำเนินโรค 3 เดือน ไม่ทราบสาเหตุ และไม่มีอุบัติเหตุใดๆ
- ใจร้อน มีความเครียด ทำงานหนักเป็นประจำ
- นอนหลับยาก เนื่องจากเสียงในหู และมักตื่นกลางดึก ตื่นแล้วหลับต่อยาก
- ขับถ่ายปกติ วันละ 1 ครั้ง
- ชีพจรเล็กและเร็ว ลิ้นมีสีแดง ปลายลิ้นสีแดงเข้ม ไม่พบฝ้าที่ลิ้น
วินิจฉัยสาเหตุของอาการ
คนไข้มีภาวะอินในตับและไต รวมถึงสารน้ำในร่างกายพร่อง ส่งผลให้เกิดความร้อนภายใน ไฟตับลุกโชน จนเกิดอาการหูมีเสียงและมีลมออกหูขึ้น
การรักษา
ฝังเข็ม + กระตุ้นไฟฟ้า : ระบายความร้อน บำรุงอิน กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด พร้อมทั้งบำรุงตับและไต
โดยฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า อย่างต่อเนื่อง 2 ครั้ง/สัปดาห์
หลังการรักษาครั้งที่ 1 : ระดับความดังของเสียง เหลือ 3/10 ระดับความเจ็บปวดยังคงเท่าเดิม
หลังการรักษาครั้งที่ 4 : ระดับความดังของเสียง เหลือ 2/10 ระดับความเจ็บปวด เหลือ 4/10
หลังการรักษาครั้งที่ 6 : ระดับความดังของเสียง เหลือ 1/10 ระดับความเจ็บปวด เหลือ 2/10 นอนหลับสนิทมากขึ้น และไม่มีตื่นกลางดึก
คำแนะนำ
- หากิจกรรมที่ช่วยคลายความเครียด รวมถึงหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด
- หลีกเลี่ยงเสียงรบกวนต่างๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์